วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

วิชาศิลปะ

                                           วิชาศิลปะ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 กิจกรรมนาฏศิลป์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
เรื่อง การละเล่นของเด็กไทย เวลา 5 ชั่วโมง


  สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด 
การละเล่นของเด็กไทย เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้เกิดประโยชน์ในด้านความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านร่างกายและจิตใจ

  ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้ 
ตัวชี้วัด
   ศ 3.2  ป.1/1  ระบุและเล่นการละเล่นของเด็กไทย       
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ระบุและเล่นการละเล่นของเด็กไทยได้
2. ปฏิบัติกิจกรรมการละเล่นของเด็กไทยได้ถูกต้องตามวิธีการเล่น และกติกา 

  สาระการเรียนรู้ 
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
   การละเล่นของเด็กไทย
1. รีรีข้าวสาร
2. งูกินหาง
3. จ้ำจี้


  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 
ความสามารถในการสื่อสาร
ความสามารถในการคิด
 - ทักษะการคิดวิเคราะห์
 - ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
 - กระบวนการปฏิบัติ
 - กระบวนการทำงานกลุ่ม

  คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 
1.  มีวินัย
2.  ใฝ่เรียนรู้
3.  รักความเป็นไทย
4.  มีจิตสาธารณะ

  กิจกรรมการเรียนรู้ 
(วิธีสอนแบบสาธิต และวิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ :  กระบวนการปฏิบัติ)
นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
ชั่วโมงที่ 1
1. ครูให้นักเรียนดูภาพจากกิจกรรมนำสู่การเรียนในหนังสือเรียน  แล้วสนทนาซักถามนักเรียนว่า การละเล่นในภาพ เป็นการละเล่นอะไร
2. ครูให้นักเรียนดูภาพการละเล่นของเด็กไทย ในหนังสือเรียน แล้วถามนักเรียนว่า นักเรียนเคยเล่นการละเล่นในภาพบ้างหรือไม่  จากนั้นให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างการละเล่นของเด็กไทยที่รู้จัก
3. ครูสนทนากับนักเรียนว่า  การละเล่นเด็กไทยมีหลายประเภทซึ่งให้ประโยขน์ทั้งในด้านความสนุกสนานเพลิดเพลิน และมีส่วนช่วยให้ร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังแสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย นักเรียนจึงควรส่งเสริมและอนุรักษ์ไว้

ชั่วโมงที่ 2
1. ครูให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง การละเล่น รีรีข้าวสาร  ในหนังสือเรียน
2. ครูอธิบายวิธีการเล่น และให้นักเรียนฝึกร้องเพลงรีรีข้าวสาร จนคล่อง
3. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม เพื่อเล่นรีรีข้าวสาร  (โดยครูอาจพานักเรียนไปเล่นที่สนามหรือบริเวณที่มีพื้นที่เพียงพอ) เมื่อเล่นเสร็จให้นักเรียนบันทึกข้อมูลลงในแบบประเมิน
4. ครูและนักเรียนช่วยกันบอกถึงประโยชน์ที่ได้จากการละเล่น

ชั่วโมงที่ 3
1. ครูให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง การละเล่นงูกินหาง  ในหนังสือเรียน
2. ครูอธิบายวิธีการเล่น และให้นักเรียนฝึกร้องเพลงงูกินหาง จนคล่อง
3. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม เพื่อเล่นงูกินหาง  (โดยครูอาจพานักเรียนไปเล่นที่สนามหรือบริเวณที่มีพื้นที่เพียงพอ) เมื่อเล่นเสร็จให้นักเรียนบันทึกข้อมูลลงในแบบประเมิน
4. ครูและนักเรียนช่วยกันบอกถึงประโยชน์ที่ได้จากการละเล่น

ชั่วโมงที่ 4
1. ครูให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง การละเล่นจ้ำจี้  ในหนังสือเรียน
2. ครูอธิบายวิธีการเล่น และให้นักเรียนฝึกร้องเพลงจ้ำจี้ทั้งแบบที่ 1 และแบบที่ 2 จากหนังสือเรียน
3. ครูขอตัวแทนนักเรียนเพื่อมาแสดงวิธีการเล่น ครูอธิบายวิธีการเล่นที่ถูกต้องว่าเล่นอย่างไร จนนักเรียนเข้าใจและเล่นด้วยตนเองได้
4. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม  กลุ่มละ 4 คน  แล้วให้แต่ละกลุ่มเล่นจ้ำจี้ เมื่อเล่นเสร็จให้นักเรียนบันทึกข้อมูลลงในแบบประเมิน 
5. ครูถามความรู้สึกของนักเรียนที่มีต่อการละเล่น และพูดโน้มน้าวให้เห็นความสำคัญรวมถึงประโยชน์จากการละเล่น

ชั่วโมงที่ 5
1. ครูซักถามนักเรียนว่า  การละเล่นแบบใดที่มีวิธีเล่นเหมือนกัน  แต่มีชื่อเรียกต่างกัน
2. ครูซักถามนักเรียนว่า การละเล่นของเด็กสมัยนี้แตกต่างจากสมัยก่อนหรือไม่ เพราะเหตุใด  ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น จากนั้นให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง การเล่นของเด็กปัจจุบันและเด็กสมัยก่อน โดยให้ยกตัวอย่างและเปรียบเทียบการเล่นของเด็กปัจจุบันกับการเล่นของเด็กสมัยไทย
3. นักเรียนแบ่งกลุ่ม  กลุ่มละ 5-6 คน  ครูให้แต่ละกลุ่มทำชิ้นงานโดยให้ศึกษาค้นคว้าการละเล่นของเด็กไทยมา 1 ชนิด  (ไม่ซ้ำกับที่เรียนมา)  แล้วฝึกซ้อมการละเล่น เพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียน จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาสาธิตการละเล่นของเด็กไทยที่ได้ค้นคว้ามาหน้าชั้นเรียน พร้อมกับเขียนอธิบาย
วิธีการเล่น
4. ครูชมเชยนักเรียนในการร่วมมือกันปฏิบัติกิจกรรมการละเล่นต่างๆ ได้อย่างพร้อมเพรียง เพื่อเป็น กำลังใจ และสรุปถึงคุณค่าของการละเล่นไทยว่าควรช่วยกันอนุรักษ์ได้อย่างไร

  สื่อ / แหล่งการเรียนรู้ 
สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียน ดนตรี-นาฏศิลป์ ป.1
2. บัตรภาพการละเล่นของเด็กไทย
3. สื่อที่ให้ความรู้ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เน็ต
4. ใบงานที่ 1.1  เรื่อง การเล่นของเด็กปัจจุบันและเด็กสมัยก่อน

แหล่งการเรียนรู้
1. ห้องสมุด
2. ห้องนาฏศิลป์
3. ผู้มีความรู้ เช่น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู



ที่มา http://www.trueplookpanya.com/true/lesson_plan_detail.php?lesson_plan_id=103

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น