วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

วิชาศิลปะ


                                              วิชาศิลปะ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ศิลปะกับชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 
เรื่อง งานศิลปะในชีวิตประจำวัน เวลา 6 ชั่วโมง


 สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด 
งานศิลปะเป็นสิ่งที่คนเราสร้างขึ้นจากการมองเห็นความงามของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานศิลปะดังที่เราพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน
  ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้ 
ตัวชี้วัด
   ศ 1.2 ป.1/1 ระบุงานทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวัน        
จุดประสงค์การเรียนรู้
   ระบุงานทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวันได้
  สาระการเรียนรู้ 
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
   งานทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวัน ได้แก่
1. ภาพเขียน
2. งานปั้น
3. งานแกะสลัก
4. งานสร้างสรรค์จากเศษวัสดุ

 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 
ความสามารถในการคิด
 - ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
 - กระบวนการปฏิบัติ
 - กระบวนการทำงานกลุ่ม


 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
 กิจกรรมการเรียนรู้ 
(วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ: กระบวนการปฏิบัติ)
นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

ชั่วโมงที่ 1
1. ครูให้นักเรียนดูภาพจากกิจกรรมนำสู่การเรียน ในหนังสือเรียน  แล้วซักถามนักเรียนว่า ผลงานในภาพเป็นผลงานประเภทใดบ้าง จากนั้นครูเฉลยคำตอบ
2. ครูแบ่งนักเรียนเป็น 6 กลุ่ม เท่าๆ กัน จากนั้นครูแจกชุดภาพงานศิลปะให้กลุ่มละ 1 ชุด โดยแต่ละชุดประกอบด้วยภาพงานศิลปะประเภทต่างๆ ประมาณ 10 ภาพ ตัวอย่างเช่น  ภาพวาดด้วยสีน้ำ  ภาพที่เกิดจากการทดลองสี ภาพงานปั้นตุ๊กตา ภาพเครื่องปั้นดินเหนียว ภาพงานแกะสลักเทียนพรรษา ภาพงานแกะสลักดอกไม้จากพืชผัก  งานจากเศษวัสดุ เป็นต้น  
3. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันจัดกลุ่มประเภทของภาพงานศิลปะเหล่านั้น  พร้อมระบุเกณฑ์และเหตุผลในการจัดกลุ่ม
4. ครูให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอวิธีการ และประเภทงานศิลปะที่กลุ่มตนเองจัดจำแนกได้  จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยถึงประเภทของงานศิลปะ
5. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เพิ่มเติม  เรื่อง ประเภทของงานศิลปะ (งานเขียน งานปั้น งานแกะสลัก  งานสร้างสรรค์จากเศษวัสดุ)  จากหนังสือเรียน แล้วช่วยกันอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มเข้าใจตรงกัน


ชั่วโมงที่ 2-3
1. ครูถามนักเรียนว่า ภาพเขียน งานปั้น งานแกะสลัก และงานสร้างสรรค์จากเศษวัสดุ  มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความคิดเห็น
2. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายว่า ผลงานศิลปะที่พบเห็นทั่วไป มีคุณค่าต่อการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันหรือไม่ อย่างไร
3. ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลการอภิปรายหน้าชั้นเรียน  ครูและเพื่อนกลุ่มอื่นร่วมกันแสดงความคิดเห็น
4. ครูและนักเรียนร่วมกันประมวลผลการอภิปราย  แล้วสรุปคุณค่าของศิลปะต่อการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
5. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสำรวจผลงานศิลปะในชุมชน  แล้ววาดภาพผลงานศิลปะในชุมชนมา 3 ตัวอย่าง เสร็จแล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ครูและเพื่อนกลุ่มอื่นร่วมกันซักถามและแสดงความคิดเห็น
6. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลงานศิลปะในชุมชน 
7. ครูให้นักเรียนเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการทำงานปั้น งานแกะสลัก และงานสร้างสรรค์จากเศษวัสดุในชั่วโมงต่อไป
ชั่วโมงที่ 4-5
1. ครูให้นักเรียนนำดินน้ำมันหรือดินเหนียวมาสร้างผลงานศิลปะ 1 ชิ้น
2. ครูให้นักเรียนแลกเปลี่ยนผลงานกันดู แล้วคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุด 3 อันดับ
3. ครูชมเชยนักเรียนที่ทำผลงานได้ดีที่สุด และให้กำลังใจนักเรียนคนอื่นๆ ให้ทำผลงานที่ดีขึ้นต่อไป
4. ครูให้นักเรียนแกะสลักผลไม้ 1 ชิ้น โดยครูคอยให้คำแนะนำและสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่าง
5. ครูให้นักเรียนแลกเปลี่ยนผลงานกันดู แล้วคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุด 3 อันดับ
6. ครูชมเชยนักเรียนที่ทำผลงานได้ดีที่สุด และให้กำลังใจนักเรียนคนอื่นๆ ให้ทำผลงานที่ดีขึ้นต่อไป
7. ครูให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานจากเศษวัสดุ 1 ชิ้น โดยครูคอยให้คำแนะนำและสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่าง
8. ครูให้นักเรียนแลกเปลี่ยนผลงานกันดู แล้วคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุด 3 อันดับ
9. ครูชมเชยนักเรียนที่ทำผลงานได้ดีที่สุด และให้กำลังใจนักเรียนคนอื่นๆ ให้ทำผลงานที่ดีขึ้นต่อไป
10. ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง งานศิลปะที่ประทับใจ  โดยติดภาพผลงานศิลปะที่ประทับใจลงในกรอบ  และบันทึกข้อมูล เสร็จแล้วครูให้อาสาสมัครนักเรียนออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ครูและเพื่อนนักเรียนร่วมกันซักถามและแสดงความคิดเห็น

ชั่วโมงที่ 6
1. ครูแสดงตัวอย่างผลงานศิลปะที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น  กระป๋องน้ำเก่าๆ นำมาตกแต่งด้วยวัสดุธรรมชาติ  เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้นักเรียนออกแบบผลงานศิลปะ
2. ครูให้นักเรียนทำชิ้นงานที่ 3.1 เรื่อง งานศิลปะในชีวิตประจำวัน  โดยทำผลงานศิลปะที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้มา 1 ชิ้น และบันทึกข้อมูล
3. ครูสุ่มเรียกนักเรียน 4-5 คน ออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน  ครูและเพื่อนนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
4. ครูและนักเรียนร่วมกันคัดเลือกผลงานที่สร้างสรรค์ที่สุด 3 อันดับ นำไปจัดป้ายนิเทศ นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
 สื่อ / แหล่งการเรียนรู้ 
สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียน ทัศนศิลป์ ป.1
2. ภาพตัวอย่างงานศิลปะประเภท งานเขียน งานปั้น งานแกะสลัก และงานจากเศษวัสดุ
3. วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างผลงานศิลปะ 
4. ใบงานที่ 1.1  เรื่อง งานศิลปะที่ประทับใจ
5. แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

แหล่งการเรียนรู้
1. สิ่งแวดล้อมรอบตัว
2. ชุมชนของนักเรียน




ที่มาhttp://www.trueplookpanya.com/true/lesson_plan_detail.php?lesson_plan_id=115

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น